สืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย

 



ชื่อวิทยานิพนธ์
การวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร
AN ANALYSIS OF EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE SYSTEM OFPRIVATE VOCATIONAL SCHOOLS, BANGKOK METROPOLIS
ชื่อนิสิตเข็มทอง ศิริแสงเลิศ
Khemthong Sirisanglert
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาผศ ดร ณัฐนิภา คุปรัตน์รศ ดร สุวิมล ว่องวาณิช
Asst Prof Natnipa Cooparat Ph DAsso Prof Suwimon Wongwanich Ph D
ชื่อสถาบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Chulalongkorn University. Bangkok. (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์ (บริหารการศึกษา)
Master. Education (Educational Administration)
ปีที่จบการศึกษา2540
บทคัดย่อ(ไทย)การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร 16 แห่งผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียนประกอบด้วยผู้บริหรโรงเรียนผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน แบบสอบถามผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน แบบสอบถามผู้ปกครองนักเรียน และแบบสอบถามนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่และหาค่าร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้การหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบที่โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนใช้ประกันคุณภาพการศึกษา คือ ระบบประกันคุณภาพที่เน้นการควบคุมการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา และใช้ปฏิทินการศึกษาเป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงาน มีการวางแผนปฏิบัติงานระยะ 1 ปีมากที่สุด ส่วนการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานของงาน ตลอดจนการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานยังไม่พบแบบแผนที่ชัดเจน 2. ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขาดปัจจัยสำคัญตามแนวทางของระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามทฤษฎี ทั้ง 3 ระบบย่อย คือ (1) ระบบการวางแผน บุคลากรมีส่วนร่วมน้อย และไม่มีเป้าหมาย มาตรฐานและเกณฑ์การวัดที่ชัดเจน (2) ระบบการควบคุมคุณภาพขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก และ (3) ระบบการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับผู้รับใบอนุญาต บุคลากรไม่มีส่วนร่วมในการทบทวนผลการปฏิบัติงาน 3. ประสิทธิผลของระบบประกันคุณภาพการศึกษา 3 ด้านคือ ด้านคุณภาพของกระบวนการบริหารโรงเรียน ด้านคุณภาพของนักเรียน และด้านคุณภาพของการบริการ ไม่พบว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งใดมีประสิทธิผลครบทั้ง 3 ด้าน
บทคัดย่อ(English)The objective of this study was to analyze thequality assurance system of private vocational schools,Bangkok Metropolis. The 16 private vocational schoolslocated in Bangkok Metropolis were sampling andgrouping by the curriculums provided and its size. Oneconstructed interview and 3 questionnaires were used tocollect data from the administrators, colleagues,parents and students concerning the process ofadministration to assure the quality of schooling andits efficiency. Frequencies, percentage, arithmeticmean and standard deviations were used to analyze thedata. Major findings were as follows: 1. The system used by private vocational schoolsto assure the quality of schooling was the hierarchicalquality control system using academic year calendar asa criterion for the successful operation. 2. The system used by private vocational schoolslacked of key factors in 3 sub-systems of theeducational quality assurance system. They were (1)criteria and standards setting and the participation ofsubordinates in planning system, (2) the qualityaccreditation from outside institutions, and (3) theparticipation of subordinates in quality improvementsystem. 3. No private vocational schools achievedefficiency criteria: the quality of administrativeprocess, the quality of students, and the quality ofservices.
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์302 P.
ISBN974-638-270-5




ชื่อวิทยานิพนธ์ การศึกษาปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพการศึกษาของ นักศึกษาสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Factors That Affected the Students Achievement on Test Scores of Educational Quality Courses at Rajabhat Institute Phranakhon Si Ayuthaya

ชื่อนิสิต วิมล กิตติรักษ์ปัญญา

Wimon Kittirakpanya

ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผศ ดร กัลยาณี จิตต์การุณย์ ดร พรรณี เกษกมล

Asst Prof Dr Kalayanee Jitgarun Dr Pannee Ketkamol

ชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย

King Mongkuts University of Technology Thonburi. Bangkok (Thailand). Graduate School.

ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม (คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ)

Master. Science in Industrial Education (Computer and Information Technology)

ปีที่จบการศึกษา 2543

บทคัดย่อ(ไทย) การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพ การศึกษาจำแนกตามตัวแปรอิสระ รวมทั้งหาค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและสร้างสมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ทุกสาขาวิชา ทุกวิชาเอกที่เริ่มเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2541 และเข้าสอบประกันคุณภาพ จำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบ ประกันคุณภาพการศึกษา ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 9.0 เพื่อคำนวณค่าสถิติ ได้แก่ สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค ค่าทดสอบที (t-test) ค่าทดสอบความแปรปรวน (F-test) ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มสอบประกันคุณภาพการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ ตัวแปรด้านลักษณะสถานภาพทั่วไป ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพของนักศึกษา ได้แก่ อาชีพของบิดา การศึกษา สูงสุดของบิดา และการศึกษาสูงสุดของมารดา 2. กลุ่มสอบประกันคุณภาพการศึกษาวิชาภาษาไทย ตัวแปรอิสระหรือตัวพยากรณ์ที่ถูก คัดเลือกเข้าไปในสมการถดถอยมี 5 ตัว ได้แก่ เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาไทย (X(,3)) การอบรมก่อน สอบประกันคุณภาพ (X(,2)) เพศ (X(,1)) เจตคติต่อวิชาภาษาไทย (X(,14)) ถูกคัดเลือกเข้าไปอยู่ ในสมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ลำดับที่ 1, 2, 3, 4 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และรายได้เฉลี่ยของบิดา/มารดาต่อเดือน (X(,8)) ถูกคัดเลือกเข้าไปอยู่ในสมการถดถอยหรือสมการ พยากรณ์ลำดับที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพภาษาไทย ของนักศึกษา เขียนในรูปคะแนนดิบ คือ Y=14.349 + 5.223X(,3) + 6.132X(,2) + 4.928X(,1) + 2.872X(,14) + 1.287X(,8) และสมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพภาษาไทย ของนักศึกษา เขียนในรูปคะแนนดิบ คือ Y= .363X(,3) + .428X(,2 + .321X(,1) + .211X(,14) + .174X(,8) 3. กลุ่มสอบประกันคุณภาพการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ ตัวแปรอิสระหรือตัวพยากรณ์ที่ถูก คัดเลือกเข้าไปในสมการถดถอยมีเพียง 1 ตัว คือ เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ (X(,3)) อย่างมีนัย สำคัญที่ระดับ 0.01 สมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพภาษาอังกฤษ ของนักศึกษา เขียนในรูปคะแนนดิบ คือ Y=18.771 + 11.076X(,3) และสมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพภาษาอังกฤษ ของนักศึกษา เขียนในรูปคะแนนดิบ คือ Y= .249X(,3) 4. กลุ่มสอบประกันคุณภาพการศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ ตัวแปรอิสระหรือตัวพยากรณ์ที่ถูก คัดเลือกเข้าไปในสมการถดถอยมี 2 ตัว ได้แก่ การอบรมก่อนสอบประกันคุณภาพ (X(,2)) และ เกรดเฉลี่ยภาคเรียนที่ 2/2541 (X(,5)) ถูกคัดเลือกเข้าไปอยู่ในสมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ ลำดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ตามลำดับ ดังนั้นสมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพ คอมพิวเตอร์ของนักศึกษา เขียนในรูปคะแนนดิบคือ Y=-1.556 + 12.183X(,2) + 11.603X(,5) และสมการถดถอยหรือสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มวิชาการสอบประกันคุณภาพคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษา เขียนในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Y= .454X(,2) + .300X(,5)

บทคัดย่อ(English) The objectives of this research were to study the general status of the variables that affected the students achievement on test scores of educational quality courses, to compare the achievements classified by different independent variables, and to formulate regression equation or predicting equation for students achievement on test scores of educational quality courses. The population used in this study consisted of 107 post degree students from every field and major of the academic year 1998. The data were analyzed by using SPSS for Windows Version 9.0 to obtain statistical values by means of Cronbachs Alpha Coefficient, t-test, F-test and Multiple Regression Analysis. The research results were as follows: 1. The general status that affected the students achievement on test scores of educational quality course in English were their fathers occupation and the highest education of their parents. 2. The independent variables or predicting variables that affected the students achievement on test scores of educational quality course in Thai were five variables chosen according to priority of significance as follows: grade point average in Thai (X(,3)), training before testing (X(,2)), sex (X(,1)), and students attitude toward Thai (X,4) were significant at the 0.01 level while the average of parents income (X(,8)) was significant at 0.05. The regression equation or predicting equation of raw scores for the students achievement on test scores of educational quality course in Thai was: Y=14.349 + 5.223X(,3) + 6.132X(,2) + 4.928X(,1) + 2.872X(,14) + 1.287X(,8) The regression equation or predicting equation of standard scores for the students achievement on test scores of educational quality course in Thai was: Y= .363X(,3) + .428X(,2) + .321X(,1) + .211X(,14) + .174X(,8) 3. The independent variable or predicting variable that affected the students achievement on test scores of educational quality course in English was the grade point average in English (X(,3)) which was significant at the 0.01 level. The regression equation or predicting equation of raw scores for the students achievement on test scores of educational quality course in English was: Y=18.771 + 11.076X(,3) The regression equation or predicting equation for standard scores of the students achievement on test scores of educational quality course in English was: Y= .249X(,3) 4. The independent variables or predicting variables that affected the students achievement on test scores of educational quality course in Computer were two variables chosen according to priority of significance as follows: training before testing (X(,2)) was significant at the 0.01 level while grade point average of the second semester of academic year 1998(X(,5)) was significant at 0.05. The regression equation or predicting equation of raw scores for the students achievement on test scores of educational quality course in Computer was: Y=-1.556 + 12.183X(,2) + 11.603X(,5) The regression equation or predicting equation of standard scores for the students achievement on test scores of educational quality course in Computer was: Y= .454X(,2) + .300X(,5)


ชื่อวิทยานิพนธ์ศึกษาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
Not Available
ชื่อนิสิตวรรณา แนบเชย
Not Available
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
ชื่อสถาบันมหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย
Burapha University. Chonburi (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (การบริหารการศึกษา)
Master. Education (Educational Adminstration)
ปีที่จบการศึกษา2544
บทคัดย่อ(ไทย)การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินการ ประกันคุณภาพการศึกษา ในมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยจำแนกตามสถานที่ตั้งและกลุ่ม สาขาวิชาหลัก รวมทั้งปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นใน มหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าภาควิชาที่ปฏิบัติงานใน มหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 227 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ นิวแมนคูลส์ (Newman-Keuls Test) ~bผลการวิจัยพบว่า~b 1. การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านแนวปฏิบัติ ด้านการดำเนินงาน และด้านการตรวจสอบและให้ การรับรองมาตรฐานการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฎว่า ด้านการวางแผนอยู่ในระดับมาก ด้านแนวปฏิบัติ ด้านการดำเนินงาน และ ด้านการตรวจสอบและให้การรับรองมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ จำแนกตามสถานที่ตั้ง พบว่า การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัย ของรัฐ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาหลัก พบว่า การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาใน มหาวิทยาลัยของรัฐ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) โดยการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพสูงกว่ากลุ่ม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4. ปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาในมหาวิทยาลัย ได้แก่ บุคลากร ในมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือน้อย และบุคลากรที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยตรงมีน้อย
บทคัดย่อ(English)no original abstract



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติ ครูนิตยา เกตุแก้ว

Workshop 4 บทคัดย่องานวิจัย 3 เรื่อง