บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ด้านประกันคุณภาพการศึกษา

การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3
THE OPERATION ON EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE : 3 rd SOUTHERN VOCATIONAL EDUCATION INSTITUTE


Classification :.DDC: วพ.378.013 ถ237ก
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพปัญหาและปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าคณะ หัวหน้าแผนก จำนวน 131 คน อาจารย์ 256 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดหาค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาด้านการควบคุมคุณภาพการศึกษา ด้านการตรวจสอบมาตรฐาน และด้านการประเมินคุณภาพโดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับการปฏิบัติปานกลางในส่วนปัญหาในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ในการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาจำแนกตามตำแหน่ง พบว่าผู้บริหารสถานศึกษา และอาจารย์มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพของสถานศึกษา ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันและเมื่อเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่าผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษา ทั้งในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็ก มีความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพ การศึกษาของสถานศึกษาขนาดใหญ่ ทั้งในภาพรวมและรายด้านสูงกว่าผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่ ในการเปรียบเทียบปัญหาในการดำเนินงานประกันคุณภาพของสถานศึกษาจำแนกต่างตำแหน่ง พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์มีความคิดเห็นต่อปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันและเมื่อเปรียบเทียบปัญหาในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึฏษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่าปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็ด และขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อปัญหาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็ก มีความคิดเห็นต่อปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดใหญ่ ทั้งภาพรวมและรายด้าน สูงกว่าผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดใหญ่
Abstract: This study examined situation, and compared problems of educational quality assurance in the 3rd Southern Vocational Education Institute. One Hundred and Thirty-one including administrators, head of department and head of sections were asked to respond to a checklist; a rating scale and open – ended questionnaires so 256 teachers. Frequency, percentage, means, standard deviation and t-test were used to analyze the collected data. The institute carried on the educational quality assurance standards “moderately” in general and in 3 areas, including quality control, standard inspection and quality evaluation. On the other hand, there were “moderate” problems of work performance in general and each area. The comparison of educational quality assurance according to work performance was not different between administrators and teachers in general and each area. Accordingly institute size, however, there was statistically significant difference between staff’ s opinion in small institute and large institute (p = .01). Staffs in small institutes had more opinion than staffs in large institutes. Problems of educational quality assurance were compared by work sections. The opinion of administrators about problems did bot differ from teachers’ opinion in general and each area. However, the problems in small institutes and large institutes were different significantly (P = .01). Staffs in small institutes had opinion higher than staffs in large institutes.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: สุราษฎร์ธานี
Created: 2548-08-05
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf

การศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่และวิทยาลัยการอาชีพสอง
Comparison the Management of Education Qualification Assurance Between Phrae Poly Technical College and Song Industrial Committee College

Classification :.DDC: 371.207072 อ215ก
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ผลของการดำเนินงานและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ในการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่และวิทยาลัยการอาชีพสอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ครู - อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทุกคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด คือแบบสำรวจสภาพ แบบสอบถามปัญหาและอุปสรรค แบบสำรวจผลการดำเนินงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการประกันคุณภาพทั้งสองสถานศึกษา ประเด็นที่มีการปฏิบัติใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน คือ จำนวนบุคลากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งและหน้าที่ของบุคลากร การจัดส่งบุคลากรไปประชุม งบประมาณที่ใช้ แนวทางและมาตรฐานที่ใช้ในการประกันคุณภาพ การประชุมครู - อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่สถานศึกษาทั้งสองไม่มีการดำเนินงานเหมือนกัน คือ สำนักงานที่ใช้ในการปฏิบัติงานสภาพภายในห้องทำงาน อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ความไม่เพียงพอ การจัดส่งบุคลากรไปศึกษาต่อ และแผนภูมิสายการบังคับบัญชา ส่วนประเด็นที่แตกต่างกัน คือ การจัดส่งบุคลากรไปศึกษาดูงาน การจัดนิเทศภายในหน่วยงาน การกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ด้านการประกันคุณภาพ และการประชุมวางแผน 2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานดำเนินงาน สถานศึกษาทั้งสองแห่ง ระบุว่าส่วนมากมีปัญหาค่อนข้างน้อย ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นปัญหาต่ำกว่า 10 % ยกเว้น การเพิ่มงานประกันคุณภาพให้แก่บุคลากรทำให้ประสิทธิภาพการทำงานที่มีอยู่เดิมลดลง วิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ เห็นว่าเป็นปัญหา 15 % วิทยาลัยการอาชีพสอง เห็นว่าเป็นปัญหา 12 % และการที่บุคลากรปฏิบัติงานประกันคุณภาพขาดความยุติธรรมวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ เห็นว่าเป็นปัญหา 11 % 3. ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของ สมศ. สถานศึกษาทั้งสองแห่งส่วนใหญ่มีการดำเนินงานใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน ประเด็นที่สถานศึกษาทั้งสองแห่งไม่มีการดำเนินการเหมือนกัน คือ ร้อยละของงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในกิจกรรมและโครงการที่ให้บริการวิชาการต่อชุมชนสังคมต่อปี และประเด็นที่แตกต่างกันมาก คือ จำนวนชั่วโมงความร่วมมือของหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เพื่อฝึกประสบการณ์ 4. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อนักศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสองและวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจนักศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสองมากกว่าวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ และพบว่า ประเภทของสถานศึกษา ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเพียงร้อยละ 17.60
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถื
Address: อุตรดิตถ์
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2546
Modified: 2549-08-11
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 974-9642-26-0


การศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่และวิทยาลัยการอาชีพสอง
Comparison the Management of Education Qualification Assurance Between Phrae Poly Technical College and Song Industrial Committee College

Classification :.DDC: 371.207072 อ215ก
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ผลของการดำเนินงานและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ในการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่และวิทยาลัยการอาชีพสอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ครู - อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทุกคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด คือแบบสำรวจสภาพ แบบสอบถามปัญหาและอุปสรรค แบบสำรวจผลการดำเนินงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการประกันคุณภาพทั้งสองสถานศึกษา ประเด็นที่มีการปฏิบัติใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน คือ จำนวนบุคลากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งและหน้าที่ของบุคลากร การจัดส่งบุคลากรไปประชุม งบประมาณที่ใช้ แนวทางและมาตรฐานที่ใช้ในการประกันคุณภาพ การประชุมครู - อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่สถานศึกษาทั้งสองไม่มีการดำเนินงานเหมือนกัน คือ สำนักงานที่ใช้ในการปฏิบัติงานสภาพภายในห้องทำงาน อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ความไม่เพียงพอ การจัดส่งบุคลากรไปศึกษาต่อ และแผนภูมิสายการบังคับบัญชา ส่วนประเด็นที่แตกต่างกัน คือ การจัดส่งบุคลากรไปศึกษาดูงาน การจัดนิเทศภายในหน่วยงาน การกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ด้านการประกันคุณภาพ และการประชุมวางแผน 2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานดำเนินงาน สถานศึกษาทั้งสองแห่ง ระบุว่าส่วนมากมีปัญหาค่อนข้างน้อย ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นว่า เป็นปัญหาต่ำกว่า 10 % ยกเว้น การเพิ่มงานประกันคุณภาพให้แก่บุคลากรทำให้ประสิทธิภาพการทำงานที่มีอยู่เดิมลดลง วิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ เห็นว่าเป็นปัญหา 15 % วิทยาลัยการอาชีพสอง เห็นว่าเป็นปัญหา 12 % และการที่บุคลากรปฏิบัติงานประกันคุณภาพขาดความยุติธรรมวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ เห็นว่าเป็นปัญหา 11 % 3. ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานของ สมศ. สถานศึกษาทั้งสองแห่งส่วนใหญ่มีการดำเนินงานใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน ประเด็นที่สถานศึกษาทั้งสองแห่งไม่มีการดำเนินการเหมือนกัน คือ ร้อยละของงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในกิจกรรมและโครงการที่ให้บริการวิชาการต่อชุมชนสังคมต่อปี และประเด็นที่แตกต่างกันมาก คือ จำนวนชั่วโมงความร่วมมือของหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เพื่อฝึกประสบการณ์ 4. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อนักศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสองและวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจนักศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสองมากกว่าวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ และพบว่า ประเภทของสถานศึกษา ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเพียงร้อยละ 17.60
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถื
Address: อุตรดิตถ์
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2546
Modified: 2549-08-11
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 974-9642-26-0


การประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐม
The internal quality assurance of kasetsart university laboratory school kamphaengsaen campuseducational research and development center, nakhon pathom province

Organization : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จังหวัดนครปฐม
Classification :.DDC: 373.12
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน 2)เปรียบเทียบสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามความคิดเห็นของอาจารย์ และ 3)เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในปีการศึกษา 2547 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (Independent t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) และวิเคราะห์รายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe\') ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนสาธิตเกษตรฯ อยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นองค์ประกอบ พบว่า การประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับมาก 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินงาน และองค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง 2. อาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษา และการได้รับการฝึกอบรมการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนแตกต่างกัน ส่วนอาจารย์ที่มีเพศ ประสบการณ์การสอน สถานภาพการปฏิบัติงานในโรงเรียน การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา และความร่วมมือจากผู้ร่วมงานในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนไม่แตกต่างกัน แนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนควรมีการประสานงานกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างเอกภาพของหลักสูตรสถานศึกษา และคำนึงถึงความต้องการของท้องถิ่น ส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพิ่มแรงจูงใจในการทำวิจัย จัดโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน สร้างเครือข่ายบริการทางวิชาการ เปิดโอกาสให้บุคลากร และอาจารย์ได้มีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการ จัดหากองทุนที่เป็นอิสระ จัดระบบตรวจสอบให้มีความโปร่งใส และจัดทำแผนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนให้ชัดเจน The objectives of this research were 1) to explore the state of internal quality assurance of Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center in Nakhon Pathom province, 2) to compare the state of internal quality assurance in the school as perceived by the teachers, and 3) to study ways to develop the internal quality assurance of the school. The 90 subjects were teachers working in Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center in Nakhon Pathom province in 2000. The instrument was a questionnaire constructed in the 5-scale rating form. The statistics used to analyze the collected data were percentage, arithmetic mean, standard deviation (S.D.), independent t-test, one-way ANOVA and Scheffé’s paired test. The findings were as follows. 1) The state of the internal quality assurance of Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center in Nakhon Pathom province, in general, was at the moderate level. When individually analyzed, most of the internal quality assurance aspects were at moderate levels, except two aspects were found at the high levels namely, the first element - philosophy, commitment, objectives and management plans, and the sixth element - art and culture tending. 2) The teachers who had different education and training on educational quality assurance perceived the internal quality assurance of the school significantly different; whereas, the teachers who had different sex, teaching experience, working status, support from the university for educational quality assurance, and peer cooperation had no significantly different perception on the internal quality assurance of the school. 3) The study found ways of developing the internal quality assurance of Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center in Nakhon Pathom province, namely cooperation with the university’s Education Faculty, establishing the unity of the school curriculum based on local needs, supporting students to have desired characteristics, encouraging motivation for research, managing projects to transfer knowledge to communities, and building academic service networks. Additionally, the school should provide opportunities for the personnel and teachers to participate in administration and management, have unconditioned funds, create unquestionable inspection systems, and make clear operational plans for the internal quality assurance.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: นครปฐม
Email: libnpru55@gmail.com
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2548
Modified: 2549-06-10
Issued: 2548-09-08
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติ ครูนิตยา เกตุแก้ว

Workshop 4 บทคัดย่องานวิจัย 3 เรื่อง